วันนี้ (6 ต.ค.2567) นายชัยธวัช ตุลาธน แกนนำคณะก้าวหน้า กล่าวถึงงานรำลึกครบรอบ 48 ปี 6 ตุลาฯ ว่าเป็นเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ที่สำคัญเหตุการณ์หนึ่งของไทย ที่จะต้องคำนึงระลึกถึงในหลายมิติโดยเฉพาะเรื่องความยุติธรรมและความรับผิดชอบของรัฐต่อการดำเนินการต่อประชาชน ซึ่งจนถึงวันนี้ยังไม่เคยเกิดขึ้น และชี้ว่าความรุนแรงไม่ควรเกิดขึ้นอีก ทั้งในอดีตและอนาคต
พร้อมกล่าวถึงการนิรโทษกรรมคดีทางการเมือง ซึ่งในเหตุการณ์ 6 ตุลาฯ มีนักศึกษาและประชาชนจำนวนมากที่ถูกดำเนินคดี รวมถึงความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 และในปี 2521 ได้มีการออกกฏหมายในนิรโทษกรรม แสดงให้เห็นว่าในอดีตเคยมีการนิรโทษกรรมมาแล้ว
ขณะนี้มีนักการเมืองหลายคน ที่เห็นว่า คดีทางการเมืองที่ร้ายแรงไม่เหมาะสมที่จะมีนิรโทษกรรมขอย้ำว่าในอดีตเคยมีการนิรโทษกรรมมาตรา 112 มาแล้วไม่ใช่เรื่องแปลก และไม่เกี่ยวอะไรกับความจงรักหรือไม่จงรักภักดี
นายชัยธวัช กล่าวอีกว่า ในฐานะกรรมาธิการ คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาการตรากฎหมายนิรโทษกรรม ยังรอความชัดเจนว่าจะมีการพิจารณารายงานของกรรมาธิการเร็วที่สุดได้เมื่อใด หลังจากที่แกนนำรัฐบาลตัดสินใจเลื่อนการเสนอรายงานออกไปจากวาระพิจารณา อาจเพราะด้วยความกังวลว่าไม่ต้องการให้มีประเด็นที่อ่อนไหวทางการเมืองไปกระทบต่อเสถียรภาพรัฐบาล ขณะเดียวกันมีร่างกฎหมาย การนิรโทษกรรมที่อยู่ในระเบียบวาระอยู่แล้ว 4 ฉบับ ไม่อยากให้รอช้า เพื่อให้พรรคการเมืองต่างรีบพิจารณาเพื่อยื่นกฎหมายของแต่ละพรรคเพิ่มเติม
จริง ๆ แล้วไม่ควรกังวลจนเกินเลยเกินไป เรื่องนี้เป็นวาระปกติการทำงานของสภาฯ การนิรโทษกรรมคดีทางการเมืองประชาชนจำนวนมากรอคอยอยู่
นายชัยธวัช กล่าวว่า แน่นอนมีว่าต้องมีความเห็นที่แตกต่างกัน อย่างมีนัยยะสำคัญ กรณีว่าจะนิรโทษกรรมคดีตามมาตรามาตรา 112 หรือไม่ ซึ่งในรายงานของกรรมาธิการมีการเสนอไว้มีหลายทางเลือกให้ศึกษาไว้อย่างรอบด้านว่ากรณีที่นิรโทษหรือไม่นิรโทษจะมีผลดีผลเสียอย่างไรหรือพื้นที่ตรงกลางนิรโทษแบบมีเงื่อนไขมีข้อดีข้อเสียอย่างไร
ถ้ากรรมาธิการได้เสนอรายงานต่อสภาเร็วที่สุดเพื่อทำให้พรรคการเมืองต่าง ๆ รับฟังความเห็นจากสภาและสังคมอย่างรอบด้านเพื่อตกผลึกในส่วนของพรรคการเมืองและรัฐบาลว่าจะเสนอร่างกฎหมายนิรโทษกรรมแบบตนเองอย่างไร ในภาพรวมส่วนใหญ่สังคมตกผลึกว่าต้องนิทรรศการคดีทางการเมือง
พรรคการเมืองต่าง ๆ ควรที่จะรีบตกผลึกในเรื่องนี้ แต่การเลื่อนเสนอรายงานของกรรมาธิการศึกษาการตรากฎหมายนิรโทษกรรมออกไปจะทำให้กระบวนการตกผลึกช้าลง ซึ่งรายงานของกรรมาธิการเป็นเพียงข้อศึกษาซึ่งเป็นทางเลือก ไม่ใช่ร่างกฎหมาย การพิจารณาจะเป็นประโยชน์ต่อแกนนำพรรคการเมืองและรัฐบาล และได้ฟังฟีดแบ็คจากสังคม
นายชัยธวัช กล่าวว่า พร้อมกล่าวเพิ่มเติมว่าการนิรโทษกรรมมาตรา 112 แบบมีเงื่อนไขเป็นหนึ่งในทางเลือกข้อเสนอของรายงานกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาการตรากฏหมายนิทรรศการได้รับการสนับสนุนและเห็นตรงกันจากหลายพรรคการเมือง ไม่ได้เฉพาะพรรคใดพรรคหนึ่ง
ส่วนพรรคการเมืองไม่ว่าจะเป็นพรรคเพื่อไทยหรือพรรคใดจะเอาด้วยหรือไม่ขั้นตอนแรกจะต้องมีการพิจารณารายงานของกรรมาธิการก่อนเพื่อฟังความเห็นของสมาชิกและสังคมจากนั้นเชื่อว่าจะเป็นแนวทางที่ง่ายขึ้นที่จะทำให้รัฐบาล และพรรคร่วมรัฐบาลพิจารณาว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไป
ด้านนายศรายุทธ ใจหลัก เลขาธิการพรรคประชาชน ระบุเพิ่มเติมว่า ขณะนี้ยังมีพรรคการเมืองใดเทียบเชิญเข้ามาเพื่อหารือในเรื่องการนิรโทษกรรม ส่วนกลางเตรียมการของพรรคประชาชนเป็นไปตามที่นายชัยธวัชได้ให้ความเห็นไว้คือรอนำรายงานการศึกษาของคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาการตรากฏหมายนิทรรศการได้รายงานที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร จากนั้นจะนำความเห็นของสภาฯ แจ้งให้ สส. ทราบ จากนั้นจะยื่นร่างกฎหมายการนิรโทษกรร ของพรรคประชาชนอีกฉบับ
อ่านข่าว:
นายกฯแพทองธาร ส่งพวงหรีด รำลึกครบรอบ 48 ปี 6 ตุลาฯ