หน้าแรก Voice TV ‘ดีอี’ หารือ ‘สภาองค์กรของผู้บริโภค’ ดันแนวทางคุ้มครองประชาชนจาก 'ภัยออนไลน์'

‘ดีอี’ หารือ ‘สภาองค์กรของผู้บริโภค’ ดันแนวทางคุ้มครองประชาชนจาก 'ภัยออนไลน์'

86
0
‘ดีอี’-หารือ-‘สภาองค์กรของผู้บริโภค’-ดันแนวทางคุ้มครองประชาชนจาก-'ภัยออนไลน์'

‘ดีอี’ หารือ ‘สภาองค์กรของผู้บริโภค’ ร่วมผลักดันแนวทางคุ้มครองประชาชนจากภัยออนไลน์ เร่งปราบปรามอาชญากรรมไซเบอร์ ‘ประเสริฐ’ หวังเดินหน้าสร้างความมั่นคงและปลอดภัยของเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล

วันที่ 15 ม.ค. 2567 ประเสริฐ จันทรรวงทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) ให้การต้อนรับคณะผู้แทนสภาองค์กรของผู้บริโภค ในการเข้าพบเพื่อขอนโยบายและหารือแนวทางการคุ้มครองผู้บริโภคร่วมกันระหว่างกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และสภาองค์กรของผู้บริโภคซึ่งได้ดำเนินงานการคุ้มครองผู้บริโภคด้านการเงินและการธนาคารด้านสินค้าและบริการทั่วไปและด้านการสื่อสารโทรคมนาคมและเทคโนโลยีสารสนเทศ จากการดำเนินงานการแก้ไขปัญหาเรื่องการร้องเรียนที่ละเมิดสิทธิผู้บริโภคที่ผ่านมา สถานการณ์ปัญหาภัยทุจริตทางการเงินมิจฉาชีพมีรูปแบบการหลอกลวงที่หลากหลายและต่อเนื่องเช่นหลอกลวงซื้อขายสินค้าที่ไม่ได้สินค้า หรือได้สินค้าไม่ตรงตามที่สั่งซื้อ หลอกลวงให้โอนเงิน หลอกให้กู้เงินแต่ไม่ได้เงินหลอกลวงให้ลงทุนหลอกลวงทางโทรศัพท์ให้โอนเงินโดยทำเป็นขบวนการ ซึ่งผู้บริโภคได้รับผลกระทบและสูญเสียทรัพย์สินเป็นจำนวนมาก จึงศึกษาข้อมูลนำเสนอแนวทางแก้ไขให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้บริโภคได้รับการคุ้มครองตามสิทธิผู้บริโภค 

ประเสริฐ เปิดเผยว่า ที่ประชุมได้หารือกันถึงแนวทางการติดตามและแก้ไขปัญหาอาชญากรรมออนไลน์ที่เป็นภัยคุกคามประชาชนด้านต่างๆ รวมไปถึงการแจ้งเหตุฉุกเฉินและการติดตามช่วยเหลือพี่น้องประชาชนให้ทันท่วงที ซึ่งได้แจ้งว่าขณะนี้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมได้ดำเนินการอย่างเต็มที่ในทุกด้านเพื่อคุ้มครองความปลอดภัยพี่น้องประขาชน โดยได้จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขปัญหาอาชญากรรมออนไลน์ (Anti Online Scam Operation Center : AOC ) หรือ AOC 1441 ในการให้คำปรึกษา และแก้ปัญหาภัยออนไลน์สำหรับประชาชน โดยช่วยดำเนินการระงับหรืออายัดบัญชีการเงินได้ ภายใน 1 ชั่วโมงนับจากเวลาที่รับแจ้งเรื่องจากเหยื่อของโจรออนไลน์ รวมทั้งให้คำปรึกษาแก่ประชาชนเกี่ยวกับภัยออนไลน์ เป็นต้น 

ประเสริฐ กล่าวว่า นอกจากนี้คณะรัฐมนตรีได้ออกพระราชกำหนดมาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี พ.ศ. 2566 ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2566 เพื่อป้องกันปราบปรามและแก้ไขปัญหาภัยทุจริตทางการเงิน ซึ่งสภาองค์กรของผู้บริโภคได้รับเรื่องร้องเรียนว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่ได้ทำหน้าที่ตามที่กฎหมายนี้กำหนดไม่สามารถใช้บังคับได้จริง กล่าวคือธนาคารบางแห่งเมื่อผู้เสียหายได้แจ้งเหตุความเสียหายที่เกิดจากภัยทุจริตทางการเงินเพื่อให้พนักงานธนาคารระงับธุรกรรมทางการเงินชั่วคราวและแจ้งข้อมูลปัญหาไปยังธนาคารอื่นที่อาจจะมีการโอนเงินแต่กลับไม่ได้ดำเนินการในทันที แต่กลับให้ผู้เสียหายเจ้าของบัญชีต้องไปแจ้งความที่สถานีตำรวจก่อนภายใน 72 ชั่วโมงจึงจะดำเนินการทำให้เกิดความล่าช้า ซึ่งไม่สอดคล้องกับที่กฎหมายกำหนดให้เป็นหน้าที่ของธนาคารให้ระงับธุรกรรมทางการไว้ชั่วคราวได้ทันทีเมื่อได้รับแจ้งจากเจ้าของบัญชีที่เป็นผู้เสียหายโดยตรง

ประเสริฐ กล่าวว่า สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ETDA) ได้ประกาศข้อเสนอแนะมาตรฐานต้านเทศโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ที่จำเป็นต่อธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ว่าด้วยบริการเก็บเงินปลายทาง สำหรับพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (ซมธอ. 38-2566) เพื่อเป็นแนวทางแก่ผู้ให้บริการขนส่งสินค้าที่ให้บริการเก็บเงินปลายทาง ในฐานะที่เป็นคนกลางบริการส่งสินค้าระหว่าง ผู้ขายคือผู้ส่งสินค้า และผู้ซื้อสินค้า มีส่วนร่วมเพิ่มการคุ้มครองปกป้องสิทธิและช่วยเหลือผู้บริโภค ไม่ให้เกิดปัญหาฉ้อโกง หรือฉวยโอกาส หลอกลวง เพื่อเป็นการยกระดับการบริการขนส่งสินค้าเก็บเงินปลายทางจะให้มีมาตรฐานการบริการที่ปลอดภัย

ประเสริฐ กล่าวว่า ศาสตราจารย์คลินิก นายแพทย์สรณ บุญบชัยพฤกษ์ ประธาน กสทช. ให้ข้อมูลแนวทางการทำงานในการแจ้งเตือนภัยแบบเจาะจง เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2566 คือ การทดสอบระบบ Location Based Service (LBS) โดยการส่ง SMS เข้าสู่มือถือในบริเวณทำเนียบรัฐบาล ซึ่งคาดว่าจะขยายผลการใช้ระบบ LBS ด้วยการส่ง SMS (Location Based Service) ให้ครอบคลุมทั้งประเทศ จากเดิมที่มีใช้ไม่ครอบคลุม ใช้ระบบอย่างไม่บูรณาการ ไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร และในระยะปานกลางคาดว่าจะใช้ระบบ Cell Broadcast เป็นระบบที่มีประสิทธิภาพสูงกว่า SMS โดยจะแจ้งเตือนแบบเจาะจงได้ทันที และสามารถเตือนได้หลายรูปเช่น การสั่นของโทรศัพท์เคลื่อนที่ เครื่องมือสื่อสาร และการส่งข้อความแบบ pop-up เป็นต้น

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กล่าวว่า ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและรับข้อเสนอแนะในประเด็นต่างๆ เพื่อนำไปสู่การดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานต่อไป พร้อมทั้งเร่งสร้างความมั่นคงและปลอดภัยของเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล เร่งแก้ไขปัญหาการดำเนินธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศให้มีประสิทธิภาพ และมุ่งป้องกัน แก้ไขปัญอาชญากรรมออนไลน์เพื่อให้เกิดความมั่นคงและปลอดภัยในชีวิตประชาชนผู้ซึ่งเป็นผู้บริโภคที่ควรได้รับการคุ้มครองและดูแล

ทั้งนี้ในการหารือกันผู้แทนสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ และ บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) ได้เข้าร่วมด้วย

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่