หน้าแรก Voice TV ‘เผ่าภูมิ โรจนสกุล’ รมช.คลัง ร่วมการประชุมเต็มคณะของผู้ว่าการธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ประจำปี 2567

‘เผ่าภูมิ โรจนสกุล’ รมช.คลัง ร่วมการประชุมเต็มคณะของผู้ว่าการธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ประจำปี 2567

4
0
‘เผ่าภูมิ-โรจนสกุล’-รมช.คลัง-ร่วมการประชุมเต็มคณะของผู้ว่าการธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศ-ประจำปี-2567
‘เผ่าภูมิ โรจนสกุล’ รมช.คลัง ร่วมการประชุมเต็มคณะของผู้ว่าการธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ประจำปี 2567

นายเผ่าภูมิ โรจนสกุล รมช.คลัง ร่วมการประชุมเต็มคณะของผู้ว่าการธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (Plenary Session) เมื่อวันที่ 25 ต.ค.2567 ณ กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. สหรัฐอเมริกา

นายพรชัย ฐีระเวช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า นายเผ่าภูมิ โรจนสกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ได้เข้าร่วมการประชุมเต็มคณะของผู้ว่าการธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (Plenary Session) เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2567 ณ กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. สหรัฐอเมริกา รวมทั้งได้รับฟังถ้อยแถลงของนาย Ajay Banga ประธานธนาคารโลก และนาง Kristalina Georgieva กรรมการจัดการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ และนาย Ahmed Munawar รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังมัลดีฟส์ ประธานการประชุม เกี่ยวกับแนวนโยบายสนับสนุนประเทศสมาชิกของทั้งสององค์กรในการดำเนินการช่วยเหลือประเทศสมาชิกในการรับมือกับความท้าทายทางเศรษฐกิจและส่งเสริมการพัฒนาในประเทศกำลังพัฒนา

นาง Kristalina Georgieva กรรมการจัดการกองทุนการเงินระหว่างประเทศได้ประมาณการอัตราเงินเฟ้อของโลกว่าจะปรับลดลงจากร้อยละ 5.7 ในไตรมาสสุดท้ายของปี 2566 เป็นร้อยละ 5.3 ในไตรมาส 4 ของปี 2567 และคาดการณ์ว่าจะปรับลดลงเป็นร้อยละ 3.5 ในไตรมาส 4 ของปี 2568 อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจในปัจจุบันยังคงเผชิญกับอุปสรรคและความท้าทาย เช่น การเติบโตทางเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ระดับหนี้สาธารณะที่สูง และภาระทางการคลังที่มีรายจ่ายเพิ่มขึ้นในอนาคตจากใช้จ่ายเพื่อรับมือกับผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยกรรมการจัดการกองทุนได้เสนอแนวนโยบายเพื่อรับมือกับความท้าทายข้างต้น ดังนี้

1) การเพิ่มศักยภาพทางการคลังหรือการดำเนินงานโดยลดรายจ่ายภาครัฐและปรับเพิ่มภาษี

2) การลงทุนเพื่อการเติบโต โดยเน้นการปฏิรูปที่จำเป็นในด้านทักษะ เทคโนโลยี และความยืดหยุ่นต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

3) การเสริมสร้างความร่วมมือในระดับพหุภาคี

ในขณะที่นาย Ajay Banga ประธานธนาคารโลก ได้กล่าวว่า ธนาคารโลกกำลังดำเนินการปฏิรูปโครงสร้างของธนาคารโลกให้เป็นธนาคารเพื่อการพัฒนาที่สามารถตอบสนองต่อวิกฤตการณ์ต่าง ๆ ได้เร็วขึ้น ผ่านกระบวนการที่เรียบง่ายขึ้นเพื่อให้สร้างผลลัพธ์ได้มากขึ้น และกล่าวรายงานว่าธนาคารโลกได้ร่วมมือกับธนาคารเพื่อการพัฒนาพหุภาคี (Multilateral Development Banks: MDBs) เช่น ธนาคารพัฒนาเอเชีย ธนาคารเพื่อการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานแห่งเอเชีย เป็นต้น เพื่อทำให้การดำเนินการโครงการเพื่อการพัฒนาในประเทศสมาชิกเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพโดยใช้ต้นทุนทางการเงินต่ำที่สุด นอกจากนี้ ยังได้เรียกร้องให้ประเทศพัฒนาแล้วรายได้สูงซึ่งเป็นผู้บริจาคเงินเพิ่มทุนให้แก่สมาคมพัฒนาการระหว่างประเทศ (International Development Association: IDA) ให้การสนับสนุนทางการเงินแก่ IDA ต่อไป เนื่องจากความต้องการทางการเงินเพื่อการพัฒนาของประเทศรายได้น้อยยังมีอยู่มาก รวมทั้งเรียกร้องให้ประเทศสมาชิกประสานงานและดำเนินการอย่างเร่งด่วนเพื่อแก้ไขปัญหาวิกฤตด้านอาหารโดยการเพิ่มการผลิตทั่วโลกและช่วยเหลือประเทศที่กำลังเผชิญปัญหาความมั่นคงด้านอาหาร

อนึ่ง เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2567 นายเผ่าภูมิฯ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังได้หารือทวิภาคีกับนาย Wempi Saputra กรรมการบริหารกลุ่มออกเสียงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของธนาคารโลกถึงความพร้อมของประเทศไทยสำหรับการเป็นเจ้าภาพการประชุมประจำปีสภาผู้ว่าการธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ปี 2569 และรับฟังรายงานความคืบหน้าในการดำเนินการโครงการเพื่อการพัฒนาของธนาคารโลกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และได้หารือถึงความร่วมมือระหว่างประเทศไทยและธนาคารโลก รวมถึงประเทศสมาชิกกลุ่มออกเสียงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพื่อส่งเสริมความเชื่อมโยงในภูมิภาคและสนับสนุนการพัฒนาอย่างยั่งยืน

464615303_868260035493616_3396824862906716993_n.jpg464715017_868259998826953_4941687312368371224_n.jpg464694108_868259975493622_4207715826026583777_n.jpg

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่