หน้าแรก Thai PBS เลือกตั้ง2566: “ศาลแพ่ง” ยกคำร้องไม่คุ้มครอง ภท.ปมห้าม “ชูวิทย์”ป่วน

เลือกตั้ง2566: “ศาลแพ่ง” ยกคำร้องไม่คุ้มครอง ภท.ปมห้าม “ชูวิทย์”ป่วน

94
0
เลือกตั้ง2566:-“ศาลแพ่ง”-ยกคำร้องไม่คุ้มครอง-ภท.ปมห้าม-“ชูวิทย์”ป่วน

วันนี้ (11 พ.ค.2566) ที่ศาลแพ่ง ถ.รัชดาภิเษก กรณีพรรคภูมิใจไทย โจทก์ยื่นฟ้องนายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ จำเลย ต่อศาลแพ่งเรื่องละเมิด เรียกค่าเสียหาย ในคดีหมายเลขดำที่ พ.2376/2566

โดยกล่าวหาว่าจำเลยกระทำการละเมิดต่อโจทก์ ทำให้โจทก์เสียหายแก่เสรีภาพ เสียหายต่อทรัพย์สิน เสียหายแก่สิทธิในชื่อเสียงหรือ เกียรติคุณหรือทางเจริญของโจทก์ เพื่อให้โจทก์ได้รับความเสียหายและตัดทอนคะแนนนิยมในการหาเสียง โดยชอบด้วยกฎหมาย และยื่นคำร้องให้ศาลมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวในระหว่างพิจารณาเป็นกรณีฉุกเฉิน

ห้ามมิให้จําเลยเข้าใกล้บริเวณสถานที่หาเสียงปราศรัยของโจทก์ และห้ามมิให้จำเลยกล่าว แถลงข่าวหรือพูด แสดงความคิดเห็นถึงโจทก์ และผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของโจทก์ ไม่ว่าด้วยวิธีการใด ๆ ในลักษณะ ทํานองเดียวกับที่ถูกฟ้อง และไม่ว่าจะแสดงออกทางภาพ เสียงคลิป ข้อความ ป้ายโฆษณา สื่อสิ่งพิมพ์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือสื่อโซเชียลใดๆ หรือขึ้นเวทีต่าง ๆ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนกว่าจะพ้นวันเลือกตั้ง

อ่านข่าวเพิ่ม เลือกตั้ง2566: “ภูมิใจไทย” ส่งทนายฟ้อง “ชูวิทย์” หมิ่นประมาท

ศาลพิเคราะห์คำร้องแล้ว เห็นว่าตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 มาตรา 25 บุคคลย่อมมีสิทธิเสรีภาพที่จะทำการใดๆ ตราบเท่าที่ไม่ละเมิดสิทธิเสรีภาพของบุคคล

นอกจากนี้ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 ยังรับรองเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น เสรีภาพในการ เดินทาง และเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธจำเลยย่อมมีสิทธิที่จะแสดงความคิดเห็น และเดินทางเพื่อเข้าฟังการปราศรัยที่จัดขึ้นเป็นสาธารณะได้ การห้ามมิให้จำเลยเข้าใกล้บริเวณที่หาเสียงปราศรัย ของโจทก์ จึงเป็นการจำกัดเสรีภาพของจำเลยเกินสมควร

ทั้งยังไม่แน่ว่าจำเลยจะเข้าไปบริเวณพื้นที่หาเสียง ปราศรัยของโจทก์ในวันที่ 12 พ.ค. 2566 และกระทำการก่อความวุ่นวายหรือไม่ หากจำเลยมี พฤติการณ์ที่จะก่อความวุ่นวายหรือเป็นการใช้เสรีภาพเกินขอบเขตจนกระทบต่อเสรีภาพหรือความปลอดภัย ของบุคคลอื่น ถึงขั้นที่เป็นการละเมิดกฎหมายการกระทำของจำเลยย่อมเป็นความผิดที่มีโทษทางอาญา และโจทก์สามารถที่จะดำเนินการตามกฎหมายกับจำเลยเพื่อระงับความเสียหายได้อยู่แล้ว จึงยังไม่สมควรที่จะมี คำสั่งคุ้มครองชั่วคราวให้

ในส่วนคำขอให้ศาลมีคำสั่งห้ามมิให้จำเลยกล่าว แถลงข่าวหรือพูดแสดงความคิดเห็นถึงโจทก์ และผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของโจทก์นั้น เป็นคำขอที่มีลักษณะห้ามมิให้จำเลยกล่าวหรือไขข่าวถึงเรื่องตามฟ้องอันเป็นการจำกัดสิทธิเสรีภาพของบุคคลในการแสดงความคิดเห็น การพูดการเขียน การพิมพ์ การโฆษณาและสื่อความหมายโดยวิธีอื่น

อันมีลักษณะเป็นการทั่วไปต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 มาตรา 34 ซึ่งเป็นการไม่แน่นอนว่าจำเลยจะได้กล่าวอ้างหรือพูดแสดงข้อความอันเป็นเท็จอันเป็นการใส่ความโจทก์หรือไม่ หากพิสูจน์ได้ว่าเป็นการกล่าวหรือไขข่าวแพร่หลายข้อความอันฝ่าฝืนต่อความจริง จำเลยย่อมจะต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนต่อโจทก์ตามที่โจทก์ฟ้องอยู่แล้ว

อีกทั้งข้อความที่โจทก์อ้างว่าจำเลยกล่าวหรือไขข่าวตามฟ้องนั้น ยังไม่แน่ชัดว่าเป็นการกระทำละเมิดต่อ โจทก์หรือไม่ ซึ่งประชาชนโดยทั่วไปย่อมมีวิจารณ ญาณว่าสมควรเลือกผู้สมัครจากพรรคการเมืองโจทก์หรือไม่ การจะสั่งห้ามจําเลยมิให้กระทำการใดในอนาคตที่ยังไม่แน่นอนว่า เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์หรือไม่ ย่อมเป็นการจำกัดสิทธิเสรีภาพของจำเลยเกินสมควร กรณียังไม่สมควรที่จะมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวให้ยกคำร้อง

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

เลือกตั้ง2566 : “ภูมิใจไทย” ฟ้อง “ชูวิทย์” 100 ล้าน ร้องห้ามเข้าพื้นที่ปราศรัยใหญ่

 

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่