พรรคพลังปวงชนไทย
เพื่อคนไทยทั้งแผ่นดิน

'ชัชชาติ' พบ 'รมช.มหาดไทย' ประสานร่วมมือ 4 ด้านร่วมกัน

ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร นำทีมเข้าพบ รมช.มหาดไทย พร้อมประสานความร่วมมือ 4 ด้านร่วมกัน

ชัชชาติ สิทธิพันธ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พร้อมด้วยคณะผู้บริหารกรุงเทพมหานคร เข้าพบเกรียง กัลป์ตินันท์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ณ ห้องรับรอง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย กระทรวงมหาดไทย

ผู้ว่าฯ ชัชชาติ เปิดเผยหลังการเข้าพบว่า วันนี้ได้ถือโอกาสเข้าเยี่ยมคารวะท่านเกรียง กัลป์ตินันท์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบงานของกรุงเทพมหานคร และเป็นการเข้าแนะนำตัวอย่างเป็นทางการ จริงๆ แล้วตนและท่านรัฐมนตรีช่วยฯ มีความคุ้นเคยกันมานานแล้วเพราะท่านก็ดูแลพื้นที่อุบลราชธานีอย่างเข้มแข็ง

อีกทั้งตอนที่ดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมได้เคยประสานงานกันในเรื่องต่างๆ วันนี้จึงรู้สึกดีใจที่ท่านได้มากำกับดูแลกทม.และกทม.ก็พร้อมจะร่วมมือทุกอย่าง ทั้งเรื่องรถไฟฟ้าสายสีเขียว การบำบัดน้ำเสียซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวข้องกับกทม.โดยตรง เพราะเราก็มีการบำบัดน้ำเสียเพิ่มขึ้น กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ซึ่งเป็นส่วนสำคัญเช่นกันเนื่องจากกทม. ก็ต้องมีการดำเนินงานร่วมกับปภ. เช่น กรณีน้ำท่วมที่ต้องมีการเยียวยาบ้านเรือนของประชาชนที่ได้รับความเสียหาย เป็นต้น ดังนั้นกทม.ก็พร้อมร่วมมือการทำงานเพื่อประโยชน์ของคนกทม.

ด้านนายเกรียง กัลป์ตินันท์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย กล่าวว่า รู้สึกดีใจที่ได้ทำงานร่วมกับผู้ว่าฯ ชัชชาติ และพร้อมช่วยเหลือและสนับสนุนงานด้านต่างๆ ของกทม. 

ผู้ว่าฯ ชัชชาติ กล่าวยังถึงประเด็น “รถไฟฟ้าสายสีเขียว” ว่า ขณะนี้ทางกระทรวงมหาดไทยอยู่ระหว่างรอคำตอบจาก กทม. ในรายละเอียดการสรุปภาระหนี้และรูปแบบดำเนินการ ในสัปดาห์หน้าสภากรุงเทพมหานครจะมีการสรุปแนวทางการแก้ปัญหา และจะนำเรื่องเข้าสู่กระทรวงมหาดไทยต่อไปเนื่องจากตาม ม.44 ต้องให้มหาดไทยเป็นผู้เสนอเรื่องให้คณะรัฐมนตรี แต่หากจะให้แยกหนี้ออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนหนี้ค่าจ้างการติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณ (E&M) จากส่วนหนี้ค่าจ้างเดินรถและซ่อมบำรุง (O&M) ซึ่งข้อดีของ E&M คือหากนำมาเป็นของเราได้จะทำให้มีอำนาจต่อรองมากขึ้น อย่างไรก็ตามก็ต้องรอทางสภา.กทม. อีกครั้งหนึ่ง 

ผู้ว่าฯ ชัชชาติ กล่าวต่อไปว่า เงินที่จะนำมาจ่ายค่า E&M เราไม่สามารถนำเงินฝ่ายบริหารมาจ่ายได้ ต้องเป็นเงินสะสมจ่ายขาด หรือการทำสัญญาต่างๆ หากมีความผูกพันเรื่องหนี้ สภาต้องเป็นผู้อนุมัติ เพราะฉะนั้นจึงเป็นสิ่งที่ดีที่คณะกรรมการศึกษาล่วงหน้าไปก่อน จากนั้นเมื่อเข้าใจดีแล้วการนำเข้าสภาก็จะง่ายขึ้น ในส่วนความยากง่ายในการดำเนินการคิดว่าหากมีแนวทางขั้นตอนที่ชัดเจนก็ไม่ยาก และรัฐบาลก็คงจะเร่งรัดในเรื่องนี้มากขึ้นด้วย

ทิ้งคำตอบไว้

อีเมล์ของคุณจะไม่ถูกเผยแพร่

This website uses cookies to improve your experience. We'll assume you're ok with this, but you can opt-out if you wish. Accept Read More