พรรคพลังปวงชนไทย
เพื่อคนไทยทั้งแผ่นดิน

ครบ 131ปี อัยการ อสส.เร่งปฏิรูปสร้างความเชื่อมั่นต่อประชาชน

131ปีอัยการ ‘อำนาจ’อสส. ชี้องค์กรเติบโตขึ้น สร้างความเชื่อมั่นให้กับสังคมไทย ‘เข็มชัย’ระบุ สังคมไม่พอใจการเเทรกเเซงกระบวนการยุติธรรมใช้กำจัดคู่เเข่งทางการเมือง สั่งคดีต้องตามพยานหลักฐานไม่ใช่ความเชื่อ ลั่นอัยการควรมีอำนาจสอบสวนมากขึ้น

เมื่อวันที่ 1 เมษายน ที่ห้องประชุม 120 ปี สำนักงานอัยการสูงสุด ถนนเเจ้งวัฒนะ นายอำนาจ เจตน์เจริญรักษ์ อัยการสูงสุด เป็นประธานพิธีเปิดกิจกรรม 131 ปี องค์กรอัยการ ที่พึ่งด้านกฎหมายของรัฐและประชาชน มีการเสวนาวิชาการ วิวัฒนาการอัยการไทย 

โดยมี ศ.พิเศษ เข็มชัย ชุติวงศ์ อดีต อสส.กล่าวปาฐกถา หัวข้อ องค์กรอัยการ:ความหวังในการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม เเละมีการเสวนาวิชาการ วิวัฒนาการอัยการไทย โดยศ.พิเศษ ดร.เรวัต ฉ่ำเฉลิม อดีต อสส. เเละอ.พนัส ทัศนียานนท์ อดีตอัยการชั้นผู้ใหญ่ 

โดยในงานครบรอบ131 ปี จะมีกิจกรรมตั้งแต่วันที่1- 4เมษายน โดยวันที่ 1 เม.ย.จะมี ปาฐกถาพิเศษและเสวนาวิชาการ “วิวัฒนาการอัยการไทย”วันที่ 2 เม.ย. เสวนาเรื่อง “คนไทยกับอัยการของพวกเรา” วันที่3 เม.ย. จะมีการแข่งขันโต้วาที เวทีวาที 130 ปีอัยการไทย โดยสถาบันการศึกษา เเละวันที่ 4 เม.ย. จะเป็นการโต้วาทีรอบรองชนะเลิศและรอบชิงชนะเลิศ

นายอำนาจ เจตน์เจริญรักษ์ อัยการสูงสุด ได้กล่าวเปิดงานว่า วันนี้ตนมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่องค์กรอัยการครบรอบ 131 ปี นับแต่วันแรกที่ก่อตั้งในวันที่ 1 เมษายน ร.ศ.112 หรือ พ.ศ.2436 เป็นกรมอัยการในสังกัดกระทรวงยุติธรรม ภายหลังมีการย้ายไปกระทรวงมหาดไทย และต่อมาแยกเป็นสำนักงานอัยการสูงสุด นับเมื่อมีรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2556 ได้บัญญัติองค์กรอัยการเป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญ

ซึ่งดำเนินมาถึงรัฐธรรมนูญปัจจุบัน ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาองค์กรอัยการได้เติบโตขึ้นตามลำดับและเนื่องในครบรอบ 131 ปี จึงได้มีการจัดงาน 131 ปี องค์กรอัยการ ที่พึ่งด้านกฎหมายของรัฐและประชาชน โดยจัดกิจกรรมในส่วนกลาง ที่ห้องประชุม 120 ปี สำนักงานอัยการสูงสุด ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ และสถานที่ตั้งสำนักงานอัยการ ภาค 1-9 เพื่อให้ข้าราชการและบุคลากรได้ภาคภูมิใจในประวัติศาสตร์การก่อตั้งองค์กรอัยการ

เพื่อให้บุคลากรของหน่วยงานได้บูรณาการทำงานร่วมกัน ขอบคุณ ศ.พิเศษ ดร.เรวัต ฉ่ำเฉลิม อดีต อสส., ศ.พิเศษ เข็มชัย ชุติวงศ์ อดีต อสส., อ.พนัส ทัศนียานนท์ อดีตอัยการชั้นผู้ใหญ่ ที่ให้เกียรติร่วมงานเสวนาวิชาการในวันนี้ ขอขอบคุณอธิบดีอัยการภาค 1-9 ที่ร่วมจัดงาน และบุคลากรขององค์กรอัยการที่ร่วมจัดงาน 131 ปี องค์กรอัยการ หวังเป็นอย่างยิ่งว่าการจัดงานครั้งนี้จะทำให้เราทุกคน ภาคภูมิใจในองค์กรของเรามากยิ่งขึ้น เพื่อร่วมพัฒนาองค์กร สร้างความเชื่อมั่นให้กับสังคมไทย

ศ.พิเศษเข็มชัย อดีต อสส. กล่าวช่วงนึงของปาฐกฐาว่า เราจะได้ยินเสียง ว่ากระบวนการยุติธรรมเอื้อประโยชน์ให้กับคนร่ำรวยเเละถูกเเทรกแซงสังคมไม่พอใจและเราจะเห็นสังคมไม่พอใจว่ามีการใช้กระบวนการยุติธรรมกำจัดคู่แข่งทางการเมือง ซึ่งก็จะเป็นวิกฤติศรัทธาในกระบวนการยุติธรรม ซึ่งจะมีเรื่องประสิทธิภาพซึ่งจะต่ำกว่าที่สังคมคาดหวัง เช่นเรื่องการนำตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษ ซึ่งภายหลังหลังจากมีการรัฐประหารและมีการตั้งความหวังที่จะปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม คือการปฏิรูปองค์กรตำรวจ ซึ่งก็ได้ผลงานเป็นพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ 2565 แต่กฎหมายฉบับนี้ก็ยังไม่ได้มีบทบัญญัติตามที่คณะกรรมการแห่งชาติในฐานะผู้ร่างฯต้องการ

สำหรับองค์กรอัยการแม้จะไม่มีการปฏิรูปในช่วงนี้แต่ก็มีการปฏิรูปรัฐธรรมนูญมาแล้วในช่วงปี 2550 ซึ่งตนคิดว่าเป็นเป้าหมายของอัยการชั้นผู้ใหญ่ในอดีต ซึ่งเป็นกฎหมายที่รองรับสถานะและเป็นเกาะกำบัง ฐานที่มั่นเพื่อไม่ให้องค์กรของเราถูกแทรกแซงจากฝ่ายการเมืองหรือจากรัฐบาลในทางที่ไม่ชอบ ตนถือว่าเป็นปรากฏการณ์ที่แข็งแรงพอสมควร ตอนนี้ขึ้นอยู่กับพวกเราที่จะต้องดูแลรักษากัน เพราะพวกเราได้สร้างว่าการที่ไม่คนอื่นเข้ามายุ่งเกี่ยวกับกิจการเรา ตนอยากให้พวกเราได้รักษาไว้ สิ่งที่จะรักษาได้คือต้องสร้างศรัทธาความเชื่อให้กับประชาชนว่าอัยการสามารถคุ้มครองดูแลกระบวนการยัติธรรมและเป็นความหวังของประชาชนของสังคมในการขับเคลื่อนกระบวนการยุติธรรมในทางที่ถูกต้องและเป็นหลักนิติธรรม

อีกประเด็นหนึ่งที่คณะกรรมการปฏิรูปประเทศต้องการปฏิรูปแต่ไม่สำเร็จก็คือเรื่องการสอบสวน ซึ่งการสอบสวนเป็นปัญหาที่สังคมตระหนัก 

เมื่อถามว่าการสอบสวนมีปัญหาอะไร ต้องตอบว่าการสอบสวนมีปัญหาหลายอย่างเช่น ที่สังคมไม่ไว้วางใจเช่นบางทีพนักงานสอบสวนไม่ได้สอบสวนแบบตรงไปตรงมาและให้ความเป็นธรรม ตรงนี้เป็นสิ่งหนึ่งที่สังคมเห็นว่าต้องการการปฏิรูป ในอดีตที่ผ่านมาอำนาจการสอบสวนเน้นที่การใช้อำนาจขององค์กรต่างๆ องค์กรใดที่มีบทบาทในการสอบส่วนมากเป็นองค์กรที่มีอำนาจมาก กระบวนการสอบสวนยังมีผลกระทบกับบุคคลที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นผู้ต้องหา พยาน ผู้เสียหาย ที่ผ่านมากฏหมายวิธีพิจารณาความอาญามีการขับเคลื่อนจากการใช้อำนาจไปสู่การคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ บทบัญญัติที่เติมเข้ามาจะเป็นเรื่องการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพซะส่วนใหญ่ มีการสร้างความสมดุลย์ในการใช้มาตรการบังคับระหว่างองค์กรตุลาการและองค์การบริหารโดยมีการให้อำนาจที่ใช้บังคับกับองค์กรตุลาการ

ถ้าพูดถึงตัวบทกฎหมายประเทศเราไม่แพ้ประเทศใดในโลกในเรื่องของมาตรฐานในการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ แม้ส่วนหนึ่งจะเป็นการใช้อำนาจเพราะเป้าหมายของเราคือการนำตัวคนผิดมาลงโทษให้ได้ เพื่อให้สังคมปลอดภัย แต่อีกด้านหนึ่งคือการปลดปล่อยคนบริสุทธิที่บังเอิญเข้ามาถูกกระทำในกระบวนการยุติธรรมให้เร็วที่สุด โดยเฉพาะพนักงานสอบสวนที่ปัจจุบันจะมองในเรื่องการเอาผิดโดยไม่สนใจว่าจะมีคนไม่บริสุทธิ์ถูกนำเข้ามาในกระบวนการถูกกระทำ

ซึ่งเมื่อก่อนสังคมจะไม่สนใจเรื่องคนบริสุทธิสุดถูกกระทำแต่สังคมจะกดดันไปที่ว่าอยากได้คนทำผิดมาลงโทษ แต่คิดว่าในอนาคตสังคมจากคาดหวังว่ากระบวนการยยุติธรรมจะมีการกลั่นกรองไม่ให้ผู้บริสุทธิ์มาถูกกระทำ ซึ่งความคาดหวังของสังคมก็จะอยู่ที่พนักงานอัยการ เพราะพนักงานอัยการไม่ใช่จุดเริ่มต้น ของการแสวงหาพยานหลักฐาน เพราะฉนั้นก็จะมีความเป็นธรรมมากกว่าพนักงานสอบสวนซึ่งเป็นโมเดลเดียวกันทุกประเทศ 

ในส่วนการเเก้บทบัญญัติที่ให้พนักงานอัยการเข้าร่วมสอบสวน แม้จะไม่ได้ผ่านจบ แต่ก็ได้ฝากผลงานไว้ ตนคิดว่าการสอบสวนควรจะต้องมีการร่วมมือกัน พนักงานอัยการควรจะต้องมีบทบาทเพิ่มขึ้นในเรื่องการสอบสวน ตรงนี้อาจสร้างความไม่พอใจ เพราะพนักงานสอบสวนหวาดระแวงว่าพนักงานอัยการจะเข้าไปควบคุมและสั่งการการทำงาน ซึ่งพนักงานสอบสวนเขาไม่ได้ต้องการเเลบนั้น เขาต้องการเพียงแค่ร่วมมือกันทำงาน ซึ่งในความเป็นจริงในระดับสากล พนักงานอัยการคล้ายจะเป็นหัวหน้าพนักงานสอบสวน ซึ่งอัยการเองก็ไม่ได้สั่งพนักงานสอบสวนบ่อยนักจะเป็นในลักษณะร่วมมือ แต่ของเรา พนักงานสอบสวนก็ระเเวงจึงทำให้เป็นปัญหา

อย่างทุกวันนี้ที่เราเคยตกลงกันกับพนักงานสอบสวนเรื่องระยะเวลาในการส่งสำนวน ซึ่งพนักงานสอบสวนก็จะชอบส่งมาตอนใกล้ครบระยะฝากขังทำให้พนักงานอัยการรีบร้อนเร่งฟ้องไปก่อนที่จะหมดระยะเวลาฝากขังทำให้การพิจารณาพยานหลักฐานไม่สมบูรณ์ครบถ้วน ร้อยเปอร์เซ็นต์ เรียกว่าได้ไม่ครบก็ต้องฟ้องไปแล้ว

ประเด็นที่สำคัญของอัยการคือมาตรฐานกันสั่งฟ้องคดี ที่จะต้องไปในทิศทางเดียวกันในต่างประเทศต้องใช้พยานหลักฐานเพียงพอที่ศาลจะลงโทษ แต่ของประเทศเราใช้เพียงพยานหลักฐานพอฟ้องซึ่งคำนี้มันแตกต่างกันและทำให้ไม่เป็นเอกภาพเดียวกัน

การทำงานของพวกเราน่าจะทำให้เกิดความเชื่อถือแก่สังคมจะต้องเป็นไปในทิศทางเดียวกัน อันนี้คือความคิดของตน สุดท้ายอยากฝากว่าสิ่งสำคัญที่สุดในกระบวนการยุติธรรมที่จะทำให้องค์กรทั้งหลายปฏิบัติไปอย่างมีประสิทธิภาพคือศรัทธาของสังคม เราจะต้องช่วยกันสร้างศรัทธาอันนี้ให้ได้ การทำงานของอัยการจะต้องทำตามพยานหลักฐาน การจะสั่งของใครไม่สั่งของใครต้องทำตามพยานหลักฐานไม่ใช่ความเชื่อ 

การกระทำของพวกเราอัยการเพียง 1-2 คนอาจจะทำให้เกิดวิกฤติศรัธทาได้ไม่ยาก แต่สังคมก็เข้าใจว่าในทุกองค์กรมีทั้งคนดีและไม่ดี ทุกคนจะคาดหวังว่าทุกคนเป็นคนดีหมดเป็นไปไม่ได้ ซึ่งองค์กรจะต้องมีวิธีที่ทำให้สังคมเห็นว่ารับไม่ได้และไม่เห็นด้วยกับสิ่งไม่ดีที่เกิดขึ้น  ซึ่งองค์กรหลักตรงนี้คือคณะกรรมการอัยการและเราทำได้ค่อนข้างดีและเป็นที่เชื่อถือของสังคม

และบางครั้งสังคมอาจจะสงสัยว่าเราเอาจริงกันหรือไม่ แต่ช่วงหลังตนขอสังเกตว่าของเราเอาจริงกัน เพื่อให้เกิดศรัทธาว่าองค์กรเราไม่เห็นด้วยที่จะปกป้องคนไม่ดีเรามีเครื่องหมายเครื่องมือพร้อมแต่ขึ้นอยู่กับว่าเราจะเอาจริงกันหรือไม่เราก้าวมาถึง 131 ปีได้แล้วด้วยความเสียสละทุ่มเทของบรรพอัยการทั้งหลายในอดีตพยามที่จะสรรค์สร้างศรัทธาวันละเล็กน้อย

“ในการสั่งคดีนั้น ความเห็นแต่ละคนอาจแตกต่างกันได้ ซึ่งเป็นเรื่องปกติ แต่บางคนกลับมองว่าผู้ที่มีความเห็นต่างกับตนมีเจตนาทุจริตนั้น ย่อมไม่ถูกต้อง” ศ.พิเศษ เข็มชัย ระบุ

ทิ้งคำตอบไว้

อีเมล์ของคุณจะไม่ถูกเผยแพร่

This website uses cookies to improve your experience. We'll assume you're ok with this, but you can opt-out if you wish. Accept Read More