พรรคพลังปวงชนไทย
เพื่อคนไทยทั้งแผ่นดิน

อ่านฉบับเต็ม ทร.แถลง สาเหตุ “เรือหลวงสุโขทัย” อับปาง

วันนี้ (9 เม.ย.2567) เวลา 15:00 น. พล.ร.อ.อะดุง พันธ์เอี่ยม ผู้บัญชาการทหารเรือ (ผบ.ทร.) เป็นประธานการแถลงข่าว ผลการสอบสวนของคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงกรณีเรือหลวงสุโขทัยอับปาง โดยมี พล.ร.อ.ชัยณรงค์ บุณยรัตกลิน ที่ปรึกษาพิเศษกองทัพเรือ ในฐานะ คณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดชอบทางละเมิด พล.ร.ท.สุระศักดิ์ สิงขรวัฒน์ ผู้บัญชาการทัพเรือภาคที่ 1 ในฐานะ คณะกรรมการสอบข้อเท็จจริง ทัพเรือภาคที่ 1 พล.ร.ต.อภิรมย์ เงินบำรุง เจ้ากรมวิทยาศาสตร์ทหารเรือ ในฐานะ คณะทำงานผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคและคณะกรรมการสอบสวนฯ และ นาวาโท พิชิตชัย เถื่อนนาดี อดีตผู้บังคับการเรือหลวงสุโขทัย ร่วมแถลงข่าว ณ ห้องเจ้าพระยาหอประชุมกองทัพเรือ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร

กองทัพเรือสรุปผลการสอบสวนข้อเท็จจริงเรือหลวงสุโขทัย อับปาง เกิดจากเหตุสุดวิสัยสภาวะอากาศแปรปรวนฉับพลัน

กองทัพเรือสรุปผลการสอบสวนข้อเท็จจริงเรือหลวงสุโขทัย อับปาง เกิดจากเหตุสุดวิสัยสภาวะอากาศแปรปรวนฉับพลัน

การแถลงข่าวในครั้งนี้ กองทัพเรือ สรุปผลการสอบสวนของคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริง กรณีเรือหลวงสุโขทัยอับปาง โดยระบุว่า เรือหลวงสุโขทัย เป็นเรือประเภทเรือคอร์เวต ชุดเรือหลวงรัตนโกสินทร์ ประกอบด้วย เรือหลวงสุโขทัย และ เรือหลวงรัตนโกสินทร์ ต่อที่ประเทศสหรัฐอเมริกา เข้าประจำการในกองทัพเรือ เมื่อปี พ.ศ.2530 เรือหลวงสุโขทัยได้เข้าการซ่อมบำรุงตามแผนมาโดยตลอดโดยซ่อมทำครั้งล่าสุด

อ่านข่าว : เปิดผลสอบ! “เรือหลวงสุโขทัย” ล่ม อดีต ผบ.เรือลาออก เหตุขาดความรอบคอบ

ในปีงบประมาณ 2561 ที่อู่ราชนาวีมหิดลอดุลยเดช กรมอู่ทหารเรือ ระหว่างวันที่ 18 พ.ค.2561 –  28 ก.พ.2564 รายการซ่อมทำที่สำคัญประกอบด้วย การซ่อมทำระบบตัวเรือ งานตัวเรือใต้แนวน้ำ งานตัวเรือเหนือแนวน้ำ การซ่อมทำระบบกลจักร และการซ่อมทำระบบไฟฟ้า หลังการซ่อมทำเสร็จ เรือหลวงสุโขทัยได้ปฏิบัติราชการต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง โดยไม่มีข้อขัดข้องจนต้องรับการซ่อมทำใหญ่แต่อย่างใด ภารกิจสุดท้าย

กองทัพเรือสรุปผลการสอบสวนข้อเท็จจริงเรือหลวงสุโขทัย อับปาง เกิดจากเหตุสุดวิสัยสภาวะอากาศแปรปรวนฉับพลัน

กองทัพเรือสรุปผลการสอบสวนข้อเท็จจริงเรือหลวงสุโขทัย อับปาง เกิดจากเหตุสุดวิสัยสภาวะอากาศแปรปรวนฉับพลัน

ขณะประสบอุบัติเหตุอับปาง คือ ภารกิจลาดตระเวนเพื่อเตรียมการช่วยเหลือผู้ประสบภัยในพื้นที่รับผิดชอบและสนับสนุนการจัดกิจกรรมเทิดพระเกียรติ พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ณ หาดทรายรี จ.ชุมพร ตามที่ จ.ชุมพร ร้องขอ ระหว่างวันที่ 17 – 19 ธันวาคม 65 จำนวน 3 วัน

สรุปเหตุการณ์

ในการออกเรือครั้งนี้ สถานภาพของเรือหลวงสุโขทัย ตัวเรือมีความพร้อม ระบบขับเคลื่อน ระบบเดินเรือ ระบบอาวุธมีความพร้อม เครื่องไฟฟ้า 4 เครื่อง มีความพร้อม 3 เครื่อง มีกำลังพลไปกับเรือทั้งหมด 105 นาย ประกอบด้วยกำลังพลประจำเรือ จำนวน 75 นาย กำลังพลจากหน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน จำนวน 15 นาย และจากหน่วยบัญชาการต่อสู้อากาสยานและรักษาฝั่ง จำนวน 15 นาย

ทั้งนี้กำลังพลประจำเรือที่ไปจำนวน 75 นาย จากยอดที่บรรจุ 100 นายนั้น ผู้บังคับการเรือหลวงสุโขทัยพิจารณาแล้ว เห็นว่าสามารถปฏิบัติราชการในครั้งนี้ได้ โดยตำแหน่งที่ไม่มีกำลังพลไปกับเรือ กำลังพลประจำเรือในตำแหน่งอื่น ๆ สามารถปฏิบัติงานทดแทนกันได้ และให้สามารถรองรับกำลังพลที่ร่วมเดินทางไปกับเรือจำนวน 30 นายได้อีกด้วย โดยข้อมูลสภาพอากาศจากกองอุตุนิยมวิทยา กรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ ในห้วงวันที่ 17 – 20 ธ.ค.2565 ที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่เส้นทางเดินเรือคือ คาดว่าจะได้รับผลกระทบจากฝนตกหนักในพื้นที่อ่าวไทยตอนบน ห่างฝั่งมีความสูงของคลื่น 1.5 – 2.1 เมตร และ 1.5 – 2.4 ม.อ่าวไทยตอนล่าง ความสูงของคลื่น 3 ม.ในวันที่ 17 ธ.ค.65 เวลา 17.30 น. เรือหลวงสุโขทัยออกเดินทางจากท่าเรือแหลมเทียน ฐานทัพเรือสัตหีบ

นาวาโท พิชิตชัย เถื่อนนาดี ผู้บังคับการเรือหลวงสุโขทัย

นาวาโท พิชิตชัย เถื่อนนาดี ผู้บังคับการเรือหลวงสุโขทัย

 

โดยมีที่หมายคือ หาดทรายรี จ.ชุมพร ภายหลังจากออกเรือประมาณครึ่งชั่วโมง ได้มีการประกาศแจกจ่ายเสื้อชูชีพให้กับกำลังพลของหน่วยที่ลงไปกับเรือที่ห้องเสมียนพลาธิการ ซึ่งเรือหลวงสุโขทัยมีเสื้อชูชีพอยู่บนเรือ รวมทั้งสิ้น 120 ตัว เพียงพอสำหรับกำลังพลที่ออกปฏิบัติการกับเรือในครั้งนี้ โดยกำลังพลประจำเรือแต่ละนายได้รับการแจกจ่ายประจำตัวแล้ว และได้จัดเตรียมไว้สำหรับแจกจ่าย ให้กำลังพลของหน่วยที่ลงไปกับเรือด้วย แต่ปรากฏว่าหลังจากประกาศ กำลังพลดังกล่าวยังไม่มารับเสื้อชูชีพครบทั้งหมด เนื่องจากบางส่วนมีภาระส่วนตัว บางส่วนไม่ได้ยินการประกาศ และบางส่วนไม่มีความคุ้นเคยเส้นทางภายในเรือ

กองทัพเรือสรุปผลการสอบสวนข้อเท็จจริงเรือหลวงสุโขทัย อับปาง เกิดจากเหตุสุดวิสัยสภาวะอากาศแปรปรวนฉับพลัน

กองทัพเรือสรุปผลการสอบสวนข้อเท็จจริงเรือหลวงสุโขทัย อับปาง เกิดจากเหตุสุดวิสัยสภาวะอากาศแปรปรวนฉับพลัน

ระหว่างเวลา 20.00 – 22.00 น. เรือหลวงสุโขทัย ถือเข็ม 200 ความเร็ว 15 นอต ขณะนั้นมีคลื่นสูงประมาณ 3 ม. และตั้งแต่เวลา 22.00 น. ได้เปลี่ยนไปถือเข็ม 220 ในช่วงเวลานั้นทางเรือได้ทดลองติดต่อสื่อสารทางวิทยุกับแท่นปิโตรเลียมมโนราห์ตามปกติในการปฏิบัติ จนกระทั่งเวลา 02.00 น. เรือยังคงเดินเรือด้วยทิศทางเดิม เครื่องจักรใหญ่ข้ายเกิดการขัดข้อง ใช้งานเครื่องจักรใหญ่ขวาได้ จึงทำความเร็วได้เพียง 8 นอต (15 กม./ชม.) ขณะเดินทางคลื่นลมมีความแปรปวนตลอดเวลา คลื่นมีความสูงขึ้นเป็นลำดับ จนถึงเวลาประมาณ 04.00 น. คลื่นมาในทิศหัวเรือ มีความสูงประมาณ 4 ม.ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็วประมาณ 28 นอต (50.4 กม./ ชม.) เรือมีอาการโคลงในลักษณะขึ้นลงอย่างรุนแรง

เวลาประมาณ 04.30 น. ได้ตรวจพบประตูทางเข้าบริเวณหัวเรือกราบข้ายเปิดอยู่ และสะบัดกระแทกจนเกิดเสียงดัง กำลังพลประจำเรือจึงได้ปิดประตูจนแนบสนิทและหมุนพวงมือล็อกประตูเรียบร้อยพบว่า มีน้ำสาดเข้ามาในช่องระหว่างประตูชั้นนอกและประตูชั้นใน ต่อมาในเวลาประมาณ 05.00 น.ประตูดังกล่าวเปิดและสะบัดกระแทกจนเกิดเสียงดังอีก เมื่อปิดแล้วไม่สามารถหมุนพวงมือล็อกประตูได้จึงใช้เชือกมัดไว้ไม่ให้เปิดออก โดยมีน้ำไหลออกมาจากขอบประตู ทั้งนี้ขอบประตูมีความสูงจากพื้นประมาณ 20 ซม.จากการตรวจสอบภายในห้องพบว่ามีน้ำไหลออกมาจากท่ออากาศดีเป็นช่วง ๆ ตามจังหวะของคลื่น

เวลาประมาณ 06.00 น. เรือเดินทางใกล้ถึงพื้นที่จอดบริเวณหาดทรายรี แต่ด้วยบริเวณดังกล่าวเป็นพื้นที่ทะเลเปิด คลื่นสูงประมาณ 4 – 6 ม.ไม่สามารถนำเรือจอดทอดสมอได้ เวลาประมาณ 06.30 น. เครื่องไฟฟ้าหมายเลข 3 หยุดการทำงาน แผนกช่างกลจึงเดินเครื่องไฟฟ้าหมายเลข 1 ทดแทน ทั้งนี้ในการเดินเรือปกติจะสลับเดินเครื่องไฟฟ้าครั้งละ 1 เครื่อง

เวลาประมาณ 07.00 น. ผู้บังคับการเรือตัดสินใจนำเรือกลับขั้นทางเหนือ ทิศทางสวนคลื่น สวนลม ต่อมาเกิดเสียงสัญญาณที่ห้องสะพานเดินเรือเตือนว่ามีน้ำท่วมห้องคลังลูกปืน 40 มม. จากการตรวจสอบพบว่ามีน้ำไหลซึมออกมาจากขอบล่างของประตูห้องบรรจุลูกปืน หลังเปิดประตูสำรวจมีน้ำไหลออกทางประตูจึงได้พยายามปิดต้านแรงดันน้ำจนปิดได้

เวลาประมาณ 07.45 น. ได้ติดต่อ ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลจังหวัดชุมพร ในการลำเลียงกำลังพลขึ้นฝั่ง แต่ได้รับแจ้งว่าเรือเล็กไม่สามารถออกมารับกำลังพลดังกล่าวได้เนื่องจากคลื่นลมแรง

กองทัพเรือสรุปผลการสอบสวนข้อเท็จจริงเรือหลวงสุโขทัย อับปาง เกิดจากเหตุสุดวิสัยสภาวะอากาศแปรปรวนฉับพลัน

กองทัพเรือสรุปผลการสอบสวนข้อเท็จจริงเรือหลวงสุโขทัย อับปาง เกิดจากเหตุสุดวิสัยสภาวะอากาศแปรปรวนฉับพลัน

เวลาประมาณ 08.00 น. เรือหลวงสุโขทัยตกลงใจเดินทางกลับฐานทัพเรือสัตหีบ เนื่องจากคลื่นลมแรงและไม่สามารถจอดทอดสมอ ณ หาดทรายรีได้ ระหว่างนั้นได้รับการประสานจากทัพเรือภาคที่ 1 ให้ส่งกำลังพลที่ร่วมเดินทางไปกับเรือจำนวน 30 นาย ขึ้นที่ท่าเรือประจวบ อ.บางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์ จึงได้ประสานไปยังท่าเรือประจวบเพื่อขอรับการสนับสนุนการเข้าจอดเรือและได้มีการประกาศผ่านระบบประกาศซ้ำให้กำลังพลที่มากับเรือมารับเสื้อชูชีพ เวลาประมาณ 08.15 น. ตรวจพบน้ำนองบริเวณช่องทางเดินหน้าห้องศูนย์ยุทธการ ภายในห้องยุทธการ และห้องวิทยุ ความสูงประมาณ 5 ซม. และอีก 15 นาทีต่อมา เกิดฟ้าช็อต หม้อแปลงไฟฟ้าสำหรับประดับไฟเรือ ซึ่งได้ทำการดับไฟและตัดไฟในส่วนที่เกี่ยวข้อง

เวลาประมาณ 10.00 น. เรือหลวงสุโขทัยติดต่อกับท่าเรือประจวบ เพื่อขอทราบข้อมูลหน้าท่าและสภาพคลื่นลม เพื่อประกอบการพิจารณาการนำเรือเข้าท่า

เวลาประมาณ 10.15 น. เกิดเหตุไฟไหม้จากเครื่องสำรองไฟฟ้า (UPS) สำหรับคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารผ่านดาวเทียมภายในห้องวิทยุ เจ้าหน้าที่สามารถดับไฟได้ ระบบสื่อสารภายในยังใช้งานได้ แต่ระบบสื่อสารผ่านดาวเทียมใช้งานไม่ได้

เวลาประมาณ 10.20 น. ได้รับการประสานข้อมูลสภาพคลื่นลมบริเวณท่าเรือประจวบฯ ว่ามีคลื่นและลมรุนแรงมาก ไม่ปลอดภัยต่อการนำเรือเข้าเทียบหรือทอดสมอบริเวณท่าเรือ ทั้งนี้ มีเรือสินค้าของบริษัทที่มีแผนเข้าเทียบ ก็ไม่สามารถเข้าเทียบได้เช่นกัน

เวลาประมาณ 12.00 น. ห้องบรรจุลูกปืนมีน้ำไหลเข้ามาคาดว่าน้ำเข้ามาจากฝา Hatch บริเวณท้ายป้อมปืน 72 มม. พบว่าฝา Hatch ผยอออก จึงได้ขันเกลียวปิดให้สนิท และมัดด้วยเชือกเพื่อป้องกันเกลียวหลุดออก

เวลาประมาณ 12.45 น. ขณะนั้น เรือหลวงสุโขทัยเดินเรืออยู่ห่างจากท่าเรือประจวบฯ ประมาณ 15 ไมล์ ผู้บังคับการเรือตัดสินใจนำเรือกลับฐานทัพเรือสัตหีบ โดยทำความเร็ว 8 นอต ระยะท่าง 100 ไมล์ ซี่งโดยหลักการ ผู้บังคับการเรือสามารถตัดสินใจภายใต้สถานการณ์จำกัดได้ โดยในขณะนั้น ทะเลมีสภาพคลื่นลมรุนแรงมาก คลื่นสูง 4 – 5 ม.น้ำทะเลจำนวนมาก ม้วนเข้าหาตัวเรือ ตั้งแต่ป้อมปืนขนาด 76 มิลลิเมตร จนถึงสะพานเดินเรือ

กองทัพเรือสรุปผลการสอบสวนข้อเท็จจริงเรือหลวงสุโขทัย อับปาง เกิดจากเหตุสุดวิสัยสภาวะอากาศแปรปรวนฉับพลัน

กองทัพเรือสรุปผลการสอบสวนข้อเท็จจริงเรือหลวงสุโขทัย อับปาง เกิดจากเหตุสุดวิสัยสภาวะอากาศแปรปรวนฉับพลัน

เวลาประมาณ 13.00 น. ตรวจพบน้ำไหลออกมาจากผนังใยแก้วตัวเรือกราบซ้าย ในห้องปฏิบัติการต่อต้านเรือดำน้ำสูงประมาณ 1 ฟุต จึงมีการใช้เครื่องสูบน้ำระบายน้ำออก ระหว่างนั้นมีไฟฟ้าดูดกำลังพล จึงเปลี่ยนมาใช้วิธีให้กำลังพลตักน้ำส่งต่อกันเพื่อระบายออกนอกตัวเรือ โดยคลื่นยังคงรุนแรงขึ้นเป็นลำดับ ความสูง 4 – 6 ม.ลมกระโชกแรง ความเร็วลมมากกว่า 45 กม./ชม. น้ำทะเลจำนวนมากยังคงซัดเช้าหาตัวเรือ ตั้งแต่ป้อมปืนขนาด 76 มม.จนถึงสะพานเดินเรืออย่างต่อเนื่อง 

เวลาประมาณ 15.00 น. เกิดน้ำท่วมบริเวณหน้าห้องเครื่องไฟฟ้า 3 ความสูงประมาณ 3 ฟุต จึงได้ทำการสูบน้ำ แต่เกิดฟ้าดูดกำลังพล จึงเปลี่ยนมาให้กำลังพลช่วยกันระบายน้ำออก จนถึงเวลาประมาณ 16.30 น. ไม่สามารถระบายน้ำได้ทัน จึงได้ขึ้นมาปิดประตูผนึกน้ำด้านบนที่เป็นดาดฟ้าหลัก ทั้งนี้ เหตุการณ์ที่ห้องหน้าเครื่องไฟฟ้า มีมาต่อเนื่องตั้งแต่ช่วงเช้า โดยในช่วงแรกยังสามารถควบคุมน้ำได้เพราะน้ำเข้าที่เบรกกันคลื่นอย่างเดียวแต่หลังจากป้อมปืนแตก น้ำเข้าในเรือมากจนเกินกว่าจะควบคุม

เวลาประมาณ 15.45 น. ตรวจพบใยแก้วสีเหลืองบริเวณเปลือกไฟเบอร์ป้อมปืนขนาด 76 มม.อันมีสาเหตุมาจากป้อมปืนแตก โดยไม่ทราบว่าเกิดขึ้นเมื่อใด ส่งผลให้ปริมาณน้ำ ในห้อง Gun bay ปืน 76 มม.เพิ่มมากขึ้น

เวลา 16.00 น. ผู้บังคับการเรือตัดสินใจหันเรือกลับท่าเรือประจวบฯ เรือเอียงประมาณ 30 องศา การควบคุมเรือเป็นไปด้วยความยากลำบาก โดนคลื่นซัดเข้าทางด้านท้ายเรือ

กองทัพเรือสรุปผลการสอบสวนข้อเท็จจริงเรือหลวงสุโขทัย อับปาง เกิดจากเหตุสุดวิสัยสภาวะอากาศแปรปรวนฉับพลัน

กองทัพเรือสรุปผลการสอบสวนข้อเท็จจริงเรือหลวงสุโขทัย อับปาง เกิดจากเหตุสุดวิสัยสภาวะอากาศแปรปรวนฉับพลัน

เวลาประมาณ 16.45 น. ได้มีการสั่งการให้กำลังพลที่ร่วมมากับเรือที่ไม่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานไปรวมตัวที่ห้องเมสจ่า และยังคงประสานขอรับการสนับสนุนเรือลากจูงมาลากเรือหลวงสุโขทัยกลับเข้าฝั่ง

เวลาประมาณ 17.00 น. เรือเอียงมากราบซ้ายมากขึ้น อ่านค่าได้จากเครื่องวัดความเอียงของเรือ เรือเอี่ยงอยู่ทีมุมระหว่าง 15 – 30 องศา ทางกราบซ้าย และในขณะนั้นมีน้ำท่วมในชั้นห้องกะลาสี (ดาดฟ้า 2 ) ความสูงประมาณเอว จากนั้นมีน้ำขึ้นมาถึงขอบประตูด้านบนห้องวิทยุ (ดาดฟ้า 1) จึงได้ค้ำยัดประตูไม้ห้องวิทยุและประตูช่องทางเดินไปหัวเรือ ต่อมาผู้บังคับการเรือได้โทรศัพท์ติดต่อกับผู้บัญชาการทัพเรือภาคที่ 2 รายงานสถานการณ์ที่เกิดขึ้น โดยได้รับคำแนะนำในการป้องกันความเสียหาย

อ่านข่าว : ทร.เตรียมแถลงผลสอบ “เรือหลวงสุโขทัย” อับปาง 9 เม.ย.นี้

จนถึงเวลาประมาณ 17.30 น. ได้สั่งการผ่านระบบประกาศให้กำลังพลทั้งหมดขึ้น มาบนดาดฟ้าทัศนะสัญญาณ เนื่องจากระดับน้ำที่เข้าเรือสูงขึ้นจนไม่สามารถทำการระบายออกได้ทัน

กองทัพเรือสรุปผลการสอบสวนข้อเท็จจริงเรือหลวงสุโขทัย อับปาง เกิดจากเหตุสุดวิสัยสภาวะอากาศแปรปรวนฉับพลัน

กองทัพเรือสรุปผลการสอบสวนข้อเท็จจริงเรือหลวงสุโขทัย อับปาง เกิดจากเหตุสุดวิสัยสภาวะอากาศแปรปรวนฉับพลัน

เวลาประมาณ 17.45 น. เรือเอียงมากขึ้น ประมาณ 50 – 60 องศา มีการใช้สัญญาณโคมไฟ ไม่บังคับทิศส่งสัญญาณ S O S ขอความช่วยเหลือ และมีสัญญาณไฟตอบรับ รวมทั้งได้ใช้วิทยุมือถือในการติดต่อสื่อสารขอความช่วยเหลือ ต่อมาเครื่องไฟฟ้าได้ดับลง ทำให้ไม่มีไฟฟ้าแสงสว่าง ได้ใช้การบอกต่อคำสั่งให้กำลังพลขึ้นมาข้างกราบบริเวณกลางลำ และมีการสั่งการให้แผนกช่างกลและกำลังพลบางส่วน ช่วยกันปิดประตูผนึกน้ำตลอดลำ รวมทั้งตรวจสอบว่าไม่มีกำลังพลหลงเหลือภายในเรือ

เวลาประมาณ 18.10 น. หลังจากผู้บังคับการเรือออกจากภายในเรือ คือ สะพานเดินเรือเป็นคนสุดท้าย และปิดประตูสะพานเดินเรือทางกราบขวา ได้สั่งการให้ตรวจสอบยอดกำลังพลด้วยวิธีนับตลอด ซึ่งนับกำลังพลได้ครบ 105 นาย ปรากฏกำลังพลมีทั้งที่สวมเสื้อชูชีพและไม่ได้สวมเสื้อชูชีพ และในช่วงเวลานั้น ผู้บัญชาการทัพเรือภาคที่ 1 ได้สั่งการให้เรือหลวงกระบุรีออกเรือจากท่าเรือประจวบฯ ไปช่วยเหลือเรือหลวงสุโขทัย

กองทัพเรือสรุปผลการสอบสวนข้อเท็จจริงเรือหลวงสุโขทัย อับปาง เกิดจากเหตุสุดวิสัยสภาวะอากาศแปรปรวนฉับพลัน

กองทัพเรือสรุปผลการสอบสวนข้อเท็จจริงเรือหลวงสุโขทัย อับปาง เกิดจากเหตุสุดวิสัยสภาวะอากาศแปรปรวนฉับพลัน

ต่อมาในเวลา 18.40 น. เรือหลวงสุโขทัยขอความช่วยเหลือเร่งด่วนไปยังศูนย์ปฏิบัติการกองทัพเรือ เนื่องจากเครื่องจักรใหญ่และเครื่องไฟฟ้าไม่สามารถใช้งานได้มีน้ำทะเลเข้าเรือเป็นจำนวนมาก เรือเอียงประมาณ 60 องศา ในการนี้ศูนย์ปฏิบัติการกองทัพเรือได้ประสานส่วนต่าง ๆ ให้การช่วยเหลือที่สำคัญได้แก่ ประสานท่าเรือประจวบฯ จัดเรือลากจูง ประจวบ 4 และ 5 อีกทั้งประสานเรือน้ำมัน Straits Energy และเรือน้ำมันศรีไชยา ซึ่งอยู่บริเวณ ใกล้กับตำบลที่เกิดเหตุขอให้ความช่วยเหลือ ในขณะนั้นบนเรือหลวงสุโขทัยได้มีการแนะนำวิธีการเอาตัวรอดแก่กำลังพล และชักซ้อมความเข้าใจการปฏิบัติตนเมื่อต้องอยู่ในทะเล โดยให้กำลังพลช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

อ่านข่าว : สั่งย้าย “ผู้การ ร.ล.ชลบุรี” สอบปมปืนลั่นใส่ “ร.ล.คีรีรัฐ “

เวลาประมาณ 20.00 น. เครื่องบินลาดตระเวนแบบที่ 1 Dornier จำนวน 1 เครื่องขึ้นบินเพื่อพิสูจน์ทราบตำบลที่ เรือหลวงสุโขทัย โดยเรือหลวงกระบุรีได้เข้าไปถึงเรือหลวงสุโขทัย

ตั้งแต่เวลา 20.21 น. และปิดระยะเข้าทำการช่วยเหลือเป็นเวลา 3 ชม. ก่อนเกิดการอับปาง ด้วยสภาพคลื่นลมขณะนั้นความเร็วลม 30 น็อต คลื่นสูง 3 – 5 ม.ทั้งนี้เรือหลวงกระบุรีได้พยายามส่งเชือก จนเมื่อส่งได้ ทางเรือหลวงสุโขทัยไม่สามารถนำเชือกเข้าผูกได้ ซึ่งเรือเอียงมาทางกราบซ้ายมากกว่า 70 องศา ท้องเรือโผล่พ้นน้ำจนสามารถเห็นมองใบจักรกราบขวาของเรือหลวงสุโขทัย เสากระโดงเรืออยู่ทิศเหนือลม ทำให้เรือหลวงกระบุรี ไม่สามารถนำเรือเข้าหาในทิศเหนือลมได้ กราบขวาเรือหลวงสุโขทัยยกตัวขึ้นลงตามคลื่นตลอดเวลาอยู่ในสภาพที่ไม่สามารถเข้าเทียบได้ เรือหลวงกระบุรีจึงนำเรืออยู่ในระยะปลอดภัยเพื่อพร้อมเข้าช่วยเหลือหากเกิดเหตุฉุกเฉิน

กองทัพเรือสรุปผลการสอบสวนข้อเท็จจริงเรือหลวงสุโขทัย อับปาง เกิดจากเหตุสุดวิสัยสภาวะอากาศแปรปรวนฉับพลัน

กองทัพเรือสรุปผลการสอบสวนข้อเท็จจริงเรือหลวงสุโขทัย อับปาง เกิดจากเหตุสุดวิสัยสภาวะอากาศแปรปรวนฉับพลัน

เวลาประมาณ 23.30 น. ท้ายเรือเริ่มจม ผู้บังคับการเรือสุโขทัยสั่งให้ปลดแพชูชีพหมายเลข 3 และ 5 บริเวณกลางลำกราบขวา และให้กำลังพลที่ไม่มีเสื้อชูชีพกระโดดลงน้ำและว่ายไปบนแพชูชีพ มีกำลังพลถูกคลื่นซัดตกจากเรือ ว่ายน้ำขึ้นไปบนแพชูชีพดังกล่าว 

ในเวลา 00.12 น. ซึ่งเข้าสู่วันที่ 19 ธันวาคม เรือหลวงสุโขทัยได้จมลงทั้งลำ 

สรุปการให้การช่วยเหลือ เรือหลวงสุโขทัย 

นับตั้งแต่เริ่มอับปาง เรือหลวงกระบุรี ทำการช่วยเหลือกำลังพล เรือหลวงสุโขทัย หลังอับปางนั้น เริ่มจากได้ส่งพวงชูชีพ จำนวน 13 พวง และปลดแพชูชีพให้กางออกให้อีก 9 แพ เสื้อชูชีพ 30 ตัว โดยใช้เชือกผูกไว้กับเรือ ส่งออกไปเพื่อรับกำลังพลเรือหลวงสุโขทัยที่อยู่ในน้ำขึ้นมาได้ในเบื้องต้น 41 นาย

จากนั้นได้นำเรือยางท้องแข็งลงจากเรือออกไปช่วยอีกด้วยสามารถช่วยกำลังพลที่ประสบภัยกลับมาขึ้นเรือหลวงกระบุรีได้ อีก 5 นาย รวมทั้งหมด 46 นาย ต่อจากนั้น เมื่อตรวจสอบแล้วไม่พบกำลังพลในบริเวณที่เรืออับปางก็ได้ออกเรือค้นหาในบริเวณดังกล่าวห่างออกไปอีกจนไม่สามารถตรวจพบได้อีกจึงเดินทางกลับเข้าท่าเรือประจวบฯ

กองทัพเรือสรุปผลการสอบสวนข้อเท็จจริงเรือหลวงสุโขทัย อับปาง เกิดจากเหตุสุดวิสัยสภาวะอากาศแปรปรวนฉับพลัน

กองทัพเรือสรุปผลการสอบสวนข้อเท็จจริงเรือหลวงสุโขทัย อับปาง เกิดจากเหตุสุดวิสัยสภาวะอากาศแปรปรวนฉับพลัน

นับตั้งแต่เวลา 20.47 น. เครื่องบินลาดตระเวนแบบ Dornier (DO – 228) ได้ขึ้นบินจากสนามบินอู่ตะเภา เข้าถึงพื้นที่ เรือหลวงสุโขทัยประสบเหตุ ได้กำหนดตำบลที่ เรือหลวงสุโขทัย ซึ่งขณะที่เรืออับปาง เฮลิคอปเตอร์ปราบเรือดำน้ำ แบบ S-70B จำนวน 2 เครื่องได้บินจากสนามบินอู่ตะเภาเวลาเข้าถึงพื้นที่ประสบเหตุเวลา 01.04 น. ภารกิจได้ปล่อยแพชูชีพ จำนวน 8 แพ เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยและได้มีเรือต่าง ๆ เข้าทำการช่วยเหลือ ในเวลาต่อมายังคงมีการออกค้นหาช่วยเหลือ โดยกองทัพเรือได้จัดตั้งหน่วยค้นหาและช่วยเหลือผู้ประสบภัย

มีการจัดทำแบบจำลองค้นหาและช่วยเหลือผู้ประสบภัยในทะเล หรือ SAR Map มีการแบ่งมอบพื้นที่ปฏิบัติการ การสั่งการให้ เรือ อากาศยาน และหน่วยปฏิบัติการพิเศษออกค้นหาอย่างต่อเนื่อง โดยมีกำลังในการค้นหา จากกองทัพอากาศ ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล และหน่วยงานราชการเอกชน มูลนิธิ อาสาสมัครในพื้นที่อีกหลายส่วนเข้าร่วมให้การสนับสนุนในพื้นที่ รวมทั้งมีการจัดตั้งกองอำนวยการ ณ ท่าเรือประจวบ อ.บางสะพาน อีกด้วย

อ่านข่าว : “โรม” ยกคณะ กมธ.ฯ ถกทัพเรือ ลั่นยังไม่วิจารณ์ ทร.ขาดมาตรฐาน

สรุปการค้นหาและช่วยเหลือผู้ประสบภัย กำลังพลที่ออกปฏิบัติราชการกับเรือหลวงสุโขทัยทั้งหมด จำนวน 105 นาย ดังนี้ สามารถช่วยเหลือและรอดชีวิต จำนวน 76 นาย ได้แก่ เรือหลวงกระบุรี ช่วยเหลือได้ 48 นาย เรือประจวบ 5 ช่วยเหลือได้ 4 นาย เรือน้ำมัน Straits Energy ช่วยเหลือได้ 6 นาย เรือน้ำมันศรีไชยาช่วยเหลือได้ 20 นาย จำนวนผู้เสียชีวิต 24 นาย สูญหาย จำนวน 5 นาย

สภาพอากาศขณะเกิดเหตุ

ข้อมูลสำคัญที่เป็นองค์ประกอบผลกระทบจากสภาพอากาศและคลื่นลมสภาพอากาศที่เกิดขึ้นจริงมีการแปรปรวนเปลี่ยนแปลงฉับพลันและรุนแรง มีคลื่นสูงสุดถึงกว่า 6 ม.หรือถึง Sea Stage 7 ซึ่งคุณสมบัติของ เรือหลวงสุโขทัยกำหนดไว้ว่าสามารถเดินเรือได้สูงสุดในระดับ Sea Stage 5 คือความสูงคลื่นประมาณ 2.5 – 4 ม.สภาพอากาศที่เกิดขึ้นจริงมีการแปรปรวนเปลี่ยนแปลงฉับพลันจากที่มีการพยากรณ์ไว้ ด้วยระดับภาวะทะเลอยู่ในระดับ 7 ที่เกิดขึ้นนี้ จึงส่งผลทำให้เรือมีอาการโคลงมาก การควบคุมเรือทำได้ยากลำบาก การทรงตัวของเรือ และกำลังพลอยู่ในภาวะไม่ปกติ การทำกิจวัตรหรือปฏิบัติงานไม่สามารถทำได้เช่นในภาวะปกติ อีกทั้งช่วงเวลาดังกล่าวเป็นคืนเดือนมืด ท้องฟ้ามีเมฆมาก เป็นอุปสรรคต่อการมองเห็น

กองทัพเรือสรุปผลการสอบสวนข้อเท็จจริงเรือหลวงสุโขทัย อับปาง เกิดจากเหตุสุดวิสัยสภาวะอากาศแปรปรวนฉับพลัน

กองทัพเรือสรุปผลการสอบสวนข้อเท็จจริงเรือหลวงสุโขทัย อับปาง เกิดจากเหตุสุดวิสัยสภาวะอากาศแปรปรวนฉับพลัน

มีข้อจำกัดในการตรวจการณ์ให้ความช่วยเหลือ คลื่นลมที่รุนแรงนี้ยังทำให้กำลังพลถูกพัดกระจายตัวออกไป ยากต่อการให้ความช่วยเหลือและเป็นอุปสรรคในการเอาชีวิตรอดในทะเล ทั้งนี้จากการรายงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องว่าในช่วงเวลาดังกล่าว คือ ในวันที่ 18 – 19 ธันวาคม 2565 ได้มีเรืออับปางในอ่าวไทยถึง 7 ลำ ซึ่งลำที่ใหญ่สุดเป็นเรือสินค้าที่มีขนาด 2,123 ตันกรอส อันเนื่องมาจากการแปรปรวนเปลี่ยนแปลงฉับพลันและรุนแรงของสภาพอากาศ เรืออับปางจำนวน 7 ลำ มีดังนี้ 1.)เรือหลวงสุโขทัย 2.)เรือสินค้า Anu Bhum 3.)เรือสินค้า สันทัดสมุทร 2 4.)เรือสินค้า SUMBER SUKSES UTAMA 5.)เรือประมง ส.นพรัตน์ 4 6.)เรือประมงทรัพย์สุนันท์ 7.)เรือประมง ส.เอกรัตน์ 19

ข้อมูลทางเทคนิค

1. เกิดการชำรุดเสียหายที่ทำให้น้ำเข้าเรือได้เป็นจำนวนมาก ซึ่งความเสียหายดังกล่าวได้แก่

1.1 ความเสียหายของแผ่นกันคลื่น (Brake Water) ซึ่งติดตั้งอยู่หน้าป้อมปืน 76/62 ถูกคลื่นกระทำจนฉีกขาด เป็นผลทำให้แผ่นเหล็กดาดฟ้าตัวเรือบริเวณดังกล่าวฉีกขาด และทะลุจนน้ำทะเลสามารถเข้าไปยังห้อง Gun bay ปืน 76/62 ซึ่งอยู่ใต้ป้อมปืนได้

พล.ร.ต.อภิรมย์ เงินบำรุง เจ้ากรมวิทยาศาสตร์ทหารเรือ ในฐานะ คณะทำงานผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคและคณะกรรมการสอบสวนฯ

พล.ร.ต.อภิรมย์ เงินบำรุง เจ้ากรมวิทยาศาสตร์ทหารเรือ ในฐานะ คณะทำงานผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคและคณะกรรมการสอบสวนฯ

1.2 ความเสียหายของป้อมปืน 16/62 จากการถูกกระแทกเป็นช่องเปิด ทำให้น้ำทะเลสามารถเข้าไปยังห้อง Gun bay ปีน 76/62 จากช่องทางนี้ได้

1.3 ประตูห้องกระชับเชือกหัวเรือเปิดอยู่ ทำให้น้ำสามารถเข้าได้ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เรือสูญเสียความสามารถในการทรงตัว

อ่านข่าว : กองทัพเรือสั่งลงทัณฑ์ขัง ” จ.ท.ทักษิณ” 30 วัน บังคับทหารใหม่กินน้ำเชื้อ

1.4 ความเสียหายรูทะลุ 2 แห่ง ที่หัวเรือกราบซ้ายบริเวณกงที่ 35 สูงจากแนวน้ำประมาณ 5 ฟุต เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้น้ำเข้าสู่ห้อง Gun bay ปีน 76/62 ได้ แต่ไม่ใช่สาเหตุหลักของการอับปางกล่าวคือ
เมื่อระดับน้ำในภายห้องสูงกว่าระดับรูทะลุ น้ำจะไหลออกมากกว่าไหลเข้าสู่ภายในห้อง

2. สภาพคลื่นลมที่มีความรุนแรงขึ้นอย่างฉับพลัน ซึ่งเกินกว่าขีดความสามารถของเรือในขณะนั้น ที่มีอายุการใช้งานมายาวนาน (เรืออายุ 36 ปี เข้าสู่ช่วง ท้ายๆ ของการประจำการ) ซึ่งสภาพคลื่นลมที่รุนแรงดังกล่าว 

ทำให้ตัวเรือมีการกระแทกกับคลื่นอย่างรุนแรงและต่อเนื่อง ส่งผลให้เกิดความเสียหายโดยตรงที่แผ่นกันคลื่น นอกจากนั้นยังส่งผลไปถึงโครงสร้างตัวเรือ และประตูกั้นน้ำบางตำแหน่ง ทำให้เกิดการผิดรูป หรือตัวล็อกประตูเกิดการคลายตัว สุดท้ายด้วยสภาพคลื่นลมที่รุนแรงยังทำให้น้ำชัดขึ้นมาทางหัวเรือ และเข้าในช่องทางที่เกิดความเสียหายตามที่ได้กล่าวมาแล้ว

3. เกิดความเสียหายในตำแหน่งที่ทำให้น้ำเข้าสู่ห้อง Gun bay ปืน 76/62 และห้องกระซับบเชือก ซึ่งเป็นห้องที่อยู่เหนือแนวน้ำ และเหนือจุด CG เป็นเหตุให้เรือสูญเสียความสามารถในการทรงตัว จนเรืออยู่ในสภาวะเอียงเกินกว่า 30 องศา

อ่านข่าว : สั่งย้าย “ผู้การ ร.ล.ชลบุรี” สอบปมปืนลั่นใส่ “ร.ล.คีรีรัฐ “

4. เมื่อเรืออยู่ในสภาวะเอียงเกินกว่า 30 องศา น้ำทะเลก็สามารถเข้าภายในตัวเรือได้ทางช่องทางระบายอากาศ และประตูผนึกน้ำที่เปิดออกจากการปะทะของคลื่น ในลักษณะ Progressive Flooding คือเข้าได้อย่างต่อเนื่อง และไม่ถูกจำกัดการไหล ปริมาณน้ำส่วนใหญ่จะไหลเข้าไปอยู่ในห้องเครื่องจักรใหญ่ และภาคท้ายเป็นหลักจนเรือสูญเสียกำลังลอย และจมลงในที่สุด

 พล.ร.ท.สุระศักดิ์ สิงขรวัฒน์ ผู้บัญชาการทัพเรือภาคที่ 1 ในฐานะ คณะกรรมการสอบข้อเท็จจริง ทัพเรือภาคที่ 1

พล.ร.ท.สุระศักดิ์ สิงขรวัฒน์ ผู้บัญชาการทัพเรือภาคที่ 1 ในฐานะ คณะกรรมการสอบข้อเท็จจริง ทัพเรือภาคที่ 1

5. การที่เรือสูญเสียความสามารถในการทรงตัวตั้งแต่เวลาประมาณ 15.00 น. จนจมลงในเวลาประมาณ 24.00 น. รวมเวลาประมาณ 9 ชั่วโมง แสดงให้เห็นความสามารถในการผนึกน้ำของเรือทำได้ดีพอสมควร แต่ในกรณีที่น้ำเริ่มเข้าจากช่องทางบนดาดฟ้าเปิด การผนึกน้ำย่อมไม่สามารถกั้นน้ำเข้าได้ 100%

6. การป้องกันความเสียหายของเรือที่มีข้อจำกัดต่าง ๆ ได้แก่ 

6.1 การตรวจสอบสาเหตุที่น้ำเข้าเรือ ซึ่งไม่สามารถออกไปตรวจสอบภายนอกตัวเรือได้เนื่องจากคลื่นลมแรง ทำให้ไม่สามารถหยุด หรือลดปริมาณน้ำที่เข้าเรือได้

6.2 การเกิดเหตุชำรุดของ เครื่องจักรใหญ่ เครื่องไฟฟ้า ระบบปรับพิตช์ใบจักร การเกิดไฟไหม้ ตลอดจนการเกิดไฟฟ้าลัดวงจรตามที่ต่าง ๆ ทำให้กำลังพลแผนกช่างกล ซึ่งมีหน้าที่หลักในการป้องกันความเสียหาย มีภาระงานมากเกินกว่าที่จะสามารถปฏิบัติการป้องกันความเสียหายได้อย่างมีประสิทธิภาพ

6.3 การเกิดไฟฟ้าสัดวงจร และไฟดูดกำลังพล ทางเรือจึงต้องตัดกระแสไฟฟ้าบางส่วน
ทำให้เครื่องสูบน้ำที่ใช้ไฟฟ้าหลายพื้นที่ใช้งานไม่ได้ และความสามารถในการสูบน้ำออกจากเรือลดลง

ผลการสอบสวนของคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงฯ

การอับปางไม่ได้เกิดจากความจงใจของ ผู้บังคับการเรือหลวงสุโขทัย และกำลังพลในเรือแต่เกิดจากสภาพอากาศมีการแปรปรวนเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันทำให้เรือเกิดภาวะผิดปกติ และเกิดจากน้ำทะเลเข้ามาในตัวเรือจากรูทะลุเป็นเหตุที่ทำให้เรือเอียง และอับปาง

อ่านข่าว : ทร. ฝึกรบกลางคืนในรอบ 6 ปี เสริมสร้างความชำนาญ

การตัดสินใจนำเรือกลับฐานทัพเรือสัตหีบ ของผู้บังคับการเรือหลวงสุโขทัย เป็นการใช้ดุลยพินิจโดยขาดความรอบคอบทำให้เกิดความเสียหายจึงเชื่อว่า การอับปางของเรือหลวงสุโขทัย มีส่วนหนึ่งเกิดจากการกระทำของเจ้าหน้าที่ในส่วนการใช้ดุลยพินิจโดยขาดความรอบคอบทำให้เกิดความเสียหายของผู้บังคับการเรือหลวงสุโขทัย ทัพเรือภาคที่ 1 ดำเนินการดังนี้

1. เสนอกองทัพเรือให้ดำเนินการทางวินัยกับผู้บังคับการเรือหลวงสุโขทัย เต็มตามอำนาจการลงทัณฑ์ของผู้บัญชาการทหารเรือ ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยวินัยทหาร พุทธศักราช 2476 ลงทัณฑ์ “กัก” เป็นเวลา 15 วัน

2. ส่งผลการพิจารณาให้คณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิดฯ ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง ในส่วนความผิดในทางอาญาอยู่ระหว่างการพิจารณาของพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธร อำเภอบางสะพาน ที่จะดำเนินการตามขั้นตอนของกระบวนการยุติธรรมต่อไป 

พล.ร.อ.อะดุง พันธ์เอี่ยม ผู้บัญชาการทหารเรือ (ผบ.ทร.)

พล.ร.อ.อะดุง พันธ์เอี่ยม ผู้บัญชาการทหารเรือ (ผบ.ทร.)

ผลการสอบของคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิด ซึ่งมีหน้าที่ตรวจสอบข้อเท็จจริง รวบรวมพยานหลักฐานทั้งปวงที่เกี่ยวข้องตรวจสอบพยานบุคคล หรือพยานผู้เชี่ยวชาญ และตรวจสอบเอกสาร วัตถุ หรือสถานที่ โดยให้พิจารณาผู้ที่อยู่ในข่ายที่ต้องรับผิดอันเนื่องมาจากการกระทำละเมิด ซึ่งจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงที่ไม่ปฏิบัติตามแบบแผนของทางราชการ จนเป็นเหตุให้ทางราชการ ได้รับความเสียหายสรุปได้ว่าสาเหตุการอับปางของ เรือหลวงสุโขทัยของทัพเรือภาคที่ ๑ ในประเด็นต่าง ๆ และจากข้อเท็จจริงที่คณะกรรมการฯ ได้มีการสอบสวนพยานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมอย่างละเอียด ทุกประเด็น รวมถึงการที่ผู้บังคับการเรือ และกำลังพลในเรือทุกนาย ได้พยายามแก้ไขสถานการณ์ต่าง ๆ ตามขั้นตอนอย่างสุดความสามารถแล้ว ความเห็นของคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิด

อ่านข่าว : รู้จัก “เรือหลวงสุโขทัย” ใช้งานมาแล้ว 35 ปี

1. การอับปางของเรือหลวงสุโขทัย เกิดจากสภาวะคลื่นลมที่รุนแรงเป็นหลักมิได้เกิดจากการจงใจของผู้บังคับการเรือและเจ้าหน้าที่

2. ไม่เข้าเงื่อนไขที่ต้องรับผิดทางละเมิด ตาม ข้อบังคับกระทรวงกลาโหมว่าด้วยวิธีการปฏิบัติเมื่อเกิดความเสียหายแก่เงินราชการหรือทรัพย์สินของทางราชการอันเนื่องมาจากการกระทำละเมิด ของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2542 (ขกล.42)

3. ไม่ต้องชดใช้ค่าเสียหายทางแพ่งต่อความเสียหายที่เกิดขึ้น คณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิดมีความเห็นว่า ผู้บังคับการเรือและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง มิได้จงใจ ที่จะทำให้เรือหลวงสุโขทัยอับปางในครั้งนี้แต่อย่างใด จึงไม่เข้าเงื่อนไขที่ต้องรับผิดทางละเมิด ตามข้อบังคับกระทรวงกลาโหมว่าด้วยการปฏิบัติเมื่อเกิดความเสียหายแก่เงินราชการ หรือทรัพย์สินของทางราชการ อันเนื่องมาจากกการกระทำละเมิดของเจ้าหน้าที่

กองทัพเรือสรุปผลการสอบสวนข้อเท็จจริงเรือหลวงสุโขทัย อับปาง เกิดจากเหตุสุดวิสัยสภาวะอากาศแปรปรวนฉับพลัน

กองทัพเรือสรุปผลการสอบสวนข้อเท็จจริงเรือหลวงสุโขทัย อับปาง เกิดจากเหตุสุดวิสัยสภาวะอากาศแปรปรวนฉับพลัน

ดังนั้น ผู้บังคับการเรือหลวงสุโขทัย และเจ้าหน้าที่ทุกนาย จึงไม่ต้องชดใช้ค่าเสียหายทางแพ่งต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นในครั้งนี้แต่อย่างใด 

ในช่วงท้ายของการแถลงข่าว ผู้บัญชาการทหารเรือกล่าวว่า กองทัพเรือตระหนักถึงความสูญเสียของกำลังพล อันเป็นที่รักและเป็นกำลังหลักของครอบครัว จึงได้มอบเงินสวัสดิการและเงินช่วยเหลือต่างๆให้ได้ครบตามสิทธิสำหรับผู้สูญหาย กองทัพเรือก็ไม่เคยละความพยายามที่จะค้นหาทั้งนี้มีกำลังพลที่สูญหาย 2 รายที่ต้องรอค่าสวัสดิการฌาปนกิจจนกว่าจะครบ 2 ปี

อ่านข่าว : ไทม์ไลน์ 16 ชั่วโมง “เรือหลวงสุโขทัย” อับปางกลางอ่าวไทย

กองทัพเรือก็ได้ดำเนินการอนุมัติเงินให้ก่อนแล้ว ร่วมกับการขอพระราชทานยศสูงขึ้น การให้การบรรจุทดแทนญาติกำลังพลที่เสียชีวิตเพื่อเขารับราชการรวมถึงการเตรียมการบรรจุให้กับบุตร ธิดาในกรณีที่ยังไม่จบการศึกษาด้วย รวมทั้งได้ให้การช่วยเหลือในการจัดกำลังพล งบประมาณ ในการปรับปรุงที่พักอาศัยให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ซึ่งการช่วยเหลือต่างๆข้างต้นได้เสร็จเรียบร้อยแล้ว คงเหลือการซ่อมแซมบ้านอีก 2 หลังก็จะเสร็จสิ้น

กองทัพเรือสรุปผลการสอบสวนข้อเท็จจริงเรือหลวงสุโขทัย อับปาง เกิดจากเหตุสุดวิสัยสภาวะอากาศแปรปรวนฉับพลัน

กองทัพเรือสรุปผลการสอบสวนข้อเท็จจริงเรือหลวงสุโขทัย อับปาง เกิดจากเหตุสุดวิสัยสภาวะอากาศแปรปรวนฉับพลัน

การแถลงผลที่ผ่านมา กองทัพเรือขอยืนยันว่า เราได้ดำเนินการทุกขั้นตอนด้วยความตรงไปตรงมา ข้อมูลที่นำมาชี้แจงในวันนี้ทุกอย่างสามารถตรวจสอบได้ และไม่มีการดัดแปลงหรือปรับแก้แต่อย่างใด อุบัติเหตุในครั้งนี้นับเป็นความสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ของกองทัพเรือ ในการนี้ผมจะได้ให้กรมจเรทหารเรือ นำข้อผิดพลาดในครั้งนี้ไปศึกษา และเสนอแนวทางปรับแก้ไขเพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้อีก

สุดท้ายนี้ ผมขอเรียนต่อกำลังพลที่รอดชีวิตและครอบครัวผู้เสียชีวิตและสูญหายว่า กองทัพเรือจะจดจำวีรกรรมของกำลังพลทั้ง 105 นายว่า ทุกท่านได้ทำหน้าที่ลูกประดู่อย่างเต็มขีดความสามารถแล้ว และขอโทษอย่างสุดซึ้งที่เกิดการเสียชีวิตและสูญหายขึ้นและขอเรียนประชาชนทุกคนว่ากำลังพลทุกคนของกองทัพเรือจะชดเชยความเสียหายในครั้งนี้ด้วยการมุ่งมั่นทำงานเสียสละและอุทิศตนเพื่อทำหน้าที่ของกองทัพเรือต่อไป เพียงเพื่อขอให้กองทัพเรือกลับมาเป็นกองทัพเรือที่ประชาชนชาวไทยเชื่อมั่น ศรัทธา และภาคภูมิใจตลอดไป

 

 

อ่านข่าวอื่น ๆ 

ประชุมด่วน! เร่งค้นหาอีก 33 ชีวิต “เรือหลวงสุโขทัย” อับปาง 

 

 

ทิ้งคำตอบไว้

อีเมล์ของคุณจะไม่ถูกเผยแพร่

This website uses cookies to improve your experience. We'll assume you're ok with this, but you can opt-out if you wish. Accept Read More